วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
       ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์บรรยายเรื่อง หลากหลายเทคนิคการจัดกิจกรรมและการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ ทั้ง 7 ด้าน ของเด็กปฐมวัย
          
           ความหมาย สมรรถนะ (Competency) คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)    
                                                                                                          
       ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

       ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
4 ปี ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
       
       ตัวอย่าง : ความทรงจำ
3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้นๆ ได้
4 ปี บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
5 ปี บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้

      ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3 ปี แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่นสวมรองเท้า ติดกระดุม
4 ปี แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
5 ปี แก้ปัญหาได้หลายวิธีและรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
       ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน "คู่มือช่วยแนะแนว"
ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภดาพดียิ่งขึ้น
ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้น
         เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจและไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตกสอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
  1. การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
  2. พัฒนาการด้านสังคม
  3. พัฒนาการด้านอารมณ์
  4. พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
  5. พัฒนาการด้านภาษา
  6. พัฒนาการด้านจริยธรรม
  7. พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์




วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
        อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวก่อนเข้าสู่การเรียน โดยการเคลื่อนไหวรูปแบบเบนยิม การใช้ สติ สมาธิกับการเคลื่อนไหว ประมาณ4-5 ท่า ทำให้นักศึกษาได้ใช้สมาธิ ไหวพริบ ในการทำ




ต่อมาอาจารย์ทบทวนระดับของการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ และสาธิตให้นักศึกษาดู ซึ่งประกอบด้วย3ระดับ
    1.ระดับต่ำ     
   2.ระดับกลาง   
3.ระดับสูง
อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่โดยมีเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
อันดับแรกต้องให้นักศึกษาหาพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมได้เหมาะสม ไม่เกะกะเพื่อน สามารถแกว่งแขนเคลื่อนไหวอย่างอิสระได้สะดวกพอสมควร
     อาจารย์จะเคาะ1ครั้ง ให้นักศึกษาก้าวเท้า1ก้าว
              เคาะ2ครั้ง ให้นักศึกษาก้าว2ก้าว
                                                              เคาะรัวๆ ให้นักศึกษาเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
                                                      เคาะ2ครั้งติดกัน ให้นักศึกษาหยุด
*ซึ่งการก้าวเท้า สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระทุกทิศทาง แต่ห้ามชนกับเพื่อน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง ขั้นพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่งที่ครูจำเป็นต้องนำมาใช้กับเด็ก สามารถเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวไปได้เรื่อยๆ แล้วแต่เราจะปรับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น