วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
      ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์สอนทฤษฎีเกี่ยวกับ กิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ
ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น 
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
  • เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหารหรือการกระโดดของกบ การควบม้า 
  • เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

  • การเล่นเกมประกอบเพลง
  • การเล่นเกมต่างๆ ของไทย
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเต้นรำพื้นเมือง
เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
  • เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิดและสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
  • การเดิน
  • การวิ่ง
  • การกระโดดเขย่ง
  • การกระโจน
  • การโดดสลับเท้า
  • การสไลด์
  • การควบม้า
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
  1. การเคลื่อนไหวแบบยืนอยู่กับที่
  2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่จากที่เดิม
  3. การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์หรือวัตถุ
การรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง 
บริเวณและเนื้อที่
  • การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตลอดเวลา
ระดับการเคลื่อนไหว
  • ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมและท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น
ทิศทางของการเคลื่อนไหว
  • การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ
การฝึกจังหวะ การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี

  1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
  • ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
  • ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง 
  • สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
  • ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
แนวทางการประเมิน
  • สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  • สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  • สังเกตการแสดงออก
  • สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      เราสามรถจัดการเคลื่อนไหวได้หลากหลายรููปแบบ ตามประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สามารถจัดตามเเนวทางที่ได้เรียนรู้มา หรือมาปรับใช้ให้ได้หลากหลายมากขึ้น ให้เด็กได้รับพัฒนาการจากกิจกรรมที่จัดขึ้น เมื่อมีการจัดกิจกรรมก็ต้องมีการประเมินพัฒนาการของเด็กในขณะที่ทำกิจกรรม สังเกตจากพฤติกรรมที่เด็กเเสดงออกมาในขณะทำกิจกรรมที่จัดขึ้น




วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559

งดการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น