วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 16

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ.2559 (เรียนชดเชย)




ขาดเรียน

บันทึกครั้งที่ 15

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
        การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (Music & movement) หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายด้วยการแสดงท่าทางให้สอดคล้องและเข้ากับจังหวะ ทำนอง และเสียงเพลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลงเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในช่วงกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้ในตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐม วัย การเคลื่อนไหวประกอบเพลง มุ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะ ทำนอง และเสียงเพลง จากการใช้ร่าง กายเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางต่างๆให้สอดคล้องจังหวะ ท่วงทำนอง และเนื้อหาของเพลง โดยครูอาจจัดให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลงทั้งเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้ รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน
เเหล่งที่มา



การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
            อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน
            อันดับที่สอง ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงตามหน่วยต่างๆ สามารถเต้นนำเด็กให้เด็กเต้นตาม หรือให้เด็กทำท่าประกอบตามจินตนาการของเด็กเอง
            อันดับสุดท้าย หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ควรให้เด็กๆผ่อนคลายทุกครั้ง










วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน  พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
           การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยให้ผู้ฝึกเกิดความแข็งแรง ความคล่องแคล่ว และมีการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้อุปกรณ์ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยมีอุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถฝึกปฏิบัติหลายแบบ เช่น นำสิ่งของที่อยู่รอบตัวมาใช้ในการสอนได้หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเอง
         เริ่มเเรกให้เด็กทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐานก่อน
         ต่อมาเข้ากิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ ครูแนะนำอุปกรณ์ที่เตรียมมา ครูออกคำสั่งให้เด็กทำตาม เช่น ให้เด็กแกว่งดอกไม้ไปมา แกว่งไปทางซ้าย เเกว่งไปทางขวา เอามากองรวมกันให้เป็นรูปต้นไม้ต้นใหญ่ เป็นต้น สามารถบรูณาการวิชาคณิตศาสตร์เรื่องของทิศทาง ตำแหน่งต่างๆได้ด้วย
         เมื่อเสร็จกิจกรรมก็ต้องผ่อนคลาย ให้เด็กๆได้ผ่อนคลายจากกิจกรรม











การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   -จัดกิกรรมเปิดเพลงให้เด็กได้เต้นตาม หรือให้เด็กเต้นตามจินตนาการของตนเอง
   -สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี มีอุปกรณ์มาใช้ในการเคลื่อนไหว สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ขึ้นเองหรือนำมาจากสิ่งของที่มีอยู่เเล้ว นำมาจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ ให้เด็กๆได้ทำกัน

บันทึกครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ.2559
เเละ
วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน  พ.ศ.2559







ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันหยุดนักขัตฤกษ์ 
(วันสงกรานต์)

บันทึกครั้งที่ 13

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง หรือข้อตกลง โดยอาจารย์ให้สอนเป็นคู่ เริ่มจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานเหมือนเดิม ครูกำหนดสัญญาณให้เด็ก เมื่อเด็กเข้าใจแล้วให้เด็กลุกขึ้นหาพื้นที่ของตนเอง และเริ่มทำการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เมื่อเสร็จแล้วอาจจะให้เด็กกลับมานั่งที่เดิมหรือจะอธิบายข้อตกลงในการเคลื่อนไหว เมื่อเด็กเข้าใจข้อตกลง ให้เด็กเริ่มทำกิจกรรม เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ก็ตามด้วยการผ่อนคลาย ให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายจากกิจกรรม










วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน  พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
           กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากคาบที่แล้วคือกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง หรือข้อตกลง เริ่มจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานเหมือนเดิม ครูกำหนดสัญญาณให้เด็ก เมื่อเด็กเข้าใจแล้วให้เด็กลุกขึ้นหาพื้นที่ของตนเอง และเริ่มทำการเคลื่อนไหว เมื่อเสร็จแล้วอาจจะให้เด็กกลับมานั่งที่เดิมหรือจะอธิบายข้อตกลงในการเคลื่อนไหว เมื่อเด็กเข้าใจข้อตกลง ให้เด็กเริ่มทำกิจกรรม เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ก็ตามด้วยการผ่อนคลาย ให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายจากกิจกรรม








**ส่งเครื่องเคาะจังหวะ**






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลงอย่างหลากหลายวิธี สามารถปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ คำสั่งเปลี่ยนแปลงได้หลากหลาย ให้เด็ดได้ปฏิบัติตาม ครูจะเป็นคนคอยกำหนดการเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง ให้เด็กได้ทำตาม

บันทึกครั้งที่ 12

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบ การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลง เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีอะไรตายตัว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดข้อตกลงแล้วให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น
         - ให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวไปที่มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมดนตรี มุมบ้าน เป็นต้น 
         -ให้เด็กเคลื่อนไหวตามสัญญาณที่ครูกำหนด ตามจังหวะที่กำหนดไว้ เช่น เคลื่อนไหวแบบเดินเร็วๆ เดินแบบช้าๆตามจังหวะการเคาะ เป็นต้น
         -ให้เด็กเคลื่อนไหวตามคำพูดที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวท่าแมวไปที่มุมดนตรี เคลื่อนไหวแบบเสือไปที่มุมบ้าน เป็นต้น 
         -ให้เด็กเคลื่อนไหวท่าทางตามภาพที่ครูกำหนด เช่น ภาพวงกลมให้เด็กทำท่าส่ายเอว ภาพสี่เหลื่ยมให้เด็กทำท่่ากระโดดอยู่กับที่ เป็นต้น
         -กำหนดท่าทางและสัญลักษณ์ให้เด็กได้ทำตามจิตนาการ กำหนดจังหวะกับท่าทางที่อยากจะให้เป็น ให้เด็กได้ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงทีีครูกำหนดให้เด็กทำ
         หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดขมับ นวดไหล่ นวดแขน นวดขา บิดตัว เป็นต้น














การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี กำหนดการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย สามารถนำสื่อมาใช้ในกิจกรรมได้ เสริมเพิ่มเติ่มเนื้อหาเข้าไปในกิจกรรมได้ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงที่ครูกำหนดให้







วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม  พ.ศ.2559



งดการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม


บันทึกครั้งที่ 11

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
          กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย กิจกรรมผ่อนคลาย 

ครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหวเด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปไปตามจังหวะที่ครูกำหนดไหวในตอนเเรก
         การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม ครูให้เด็กๆจับมือเป็นวงกลมขยายออกให้กว้าง ครูจะเลือกเด็กออกมาเป็นผู้นำท่าต่างๆคนละ 1 ท่า โดยดูว่าใครยืนเรียบร้อยที่สุดก็จะถูกเลือกออกมาเป็นผู้นำตรงกลาง ครูกำหนดหน่วยท่าทางที่เด็กจะทำ เด็กที่ถูกเลือกทำท่าทางนำเพื่อนๆ แล้วเพื่อนทำตาม
        *การผ่อนคลายแบบที่ 1 ครูให้เด็กๆนั่งลงเป็นวงกลม เหยียดขาออกมา แล้วค่อยๆทุบ ทุบขาซ้าย ทุบขาขวา ทุบแขนซ้าย ทุบแขนขวา ไล่จากบนลงล่าง ทุบเบาๆ จากนั้นให้เด็กๆยกแขนซ้ายขึ้นหันหน้าไปทางซ้าย นวดไหล่ให้เพื่อน กลับหลังหัน นวดไหล่ให้เพื่อน
        *การผ่อนคลายแบบที่ 2 ครูให้เด็กๆนอนลงแล้วบรรยายตามจินตนาการของครู












วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม  พ.ศ.2559



ขาดเรียน







บันทึกครั้งที่ 10

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
           ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  กิจกรรมผู้นำผู้ตาม กิจกรรมผ่อนคลาย
           
          ครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหวเด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปไปตามจังหวะที่ครูกำหนดไหวในตอนเเรก
         การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม ครูให้เด็กๆจับมือเป็นวงกลมขยายออกให้กว้าง ครูจะเลือกเด็กออกมาเป็นผู้นำท่าต่างๆคนละ 1 ท่า โดยดูว่าใครยืนเรียบร้อยที่สุดก็จะถูกเลือกออกมาเป็นผู้นำตรงกลาง ครูกำหนดหน่วยท่าทางที่เด็กจะทำ เด็กที่ถูกเลือกทำท่าทางนำเพื่อนๆ แล้วเพื่อนทำตาม
        *การผ่อนคลายแบบที่ 1 ครูให้เด็กๆนั่งลงเป็นวงกลม เหยียดขาออกมา แล้วค่อยๆทุบ ทุบขาซ้าย ทุบขาขวา ทุบแขนซ้าย ทุบแขนขวา ไล่จากบนลงล่าง ทุบเบาๆ จากนั้นให้เด็กๆยกแขนซ้ายขึ้นหันหน้าไปทางซ้าย นวดไหล่ให้เพื่อน กลับหลังหัน นวดไหล่ให้เพื่อน
        *การผ่อนคลายแบบที่ 2 ครูให้เด็กๆนอนลงแล้วบรรยายตามจินตนาการของครู












วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
           กิจกรรมในวันนี้อาจารย์สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย เริ่มจาก
         -เคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหว เด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
        -เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามเนื้อเรื่องโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบตามจินตนาการของเด็กเอง
        -กิจกรรมผ่อนคลาย โดยครูจะบรรยายไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆให้เด็กๆผ่อนคลายไปตามเนื้อเรื่องของครู เป็นบรรยายกาศสบายๆ ผ่อนคลาย ให้เด็กได้พักจากกิจกรรม จากนั้นให้เด็กๆ ค่อยๆ หลับตาลง ครูนับ 1 -15 แล้วให้เด็กๆ ลืมตา เป็นต้น  

                                             











การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการนำการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ระดับไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะของเด็ก แต่งเนื้อหาบรรยายให้เหมาะสมกับเด็ก ปรับเปลื่อนเนื้อหาได้หลากหลายในการสอนเเต่ละครั้ง สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ถูกต้อง